กิจกรรมการตรวจสุขภาพ ภายใต้โครงการสบช.โมเดล2022

1 ธันวาคม 2565 สถาบันพระบรมราชชนก รับรางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการเบิกจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ระดับดี จากนายกรัฐมนตรี โดยมี นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองอธิการบดีสถาบันพระบรมราชนก เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัล ณ ทำเนียบรัฐมนตรี

สถาบันพระบรมราชชนก เปิดรับ นศ.แพทย์ รุ่นแรก ผ่านทีแคสรอบโควต้า ยื่นคะแนนเดือน ก.พ. รวม 96 คน อธิการฯ ให้ความมั่นใจ หลักสูตรใหม่ ผ่านการรับรองจาก อว. พร้อมปั้นแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
เมื่อวันที่ 7 มกราคม ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดตั้งสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า สถาบันพระบรมราชชนก เดิมเป็นกองหนึ่งในสังกัด สธ. จากนั้นมีการยกฐานะเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือ มหาวิทยาลัย ที่ชื่อว่า “สถาบันพระบรมราชชนก” ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2562 ซึ่งได้รับโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 6 เม.ย.2562 โดยเจตนารมณ์คือ ผลิตบุคลากรทางสายวิทยาศาสตร์สุขภาพให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการขาดแคลน อาทิ แพทย์ แพทย์แผนไทย ทันตแพทย์ เภสัชกร เป็นต้น ซึ่งสถาบันฯ มีต้นทุน 2 คณะ คือ คณะพยาบาล และ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ที่มีวิทยาลัย 30 แห่งทั่วประเทศครบทั้ง 13 เขตสุขภาพ โดยปัจจุบันสามารถประสาทปริญญาบัตรได้เอง ทั้งนี้ ปี2566 สถาบันฯ รับนักศึกษาคณะพยาบาล เป็นนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ได้ลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ 2,360 แห่งและโรงเรียนในเขตเมือง รวม 4,220 คน ส่วนคณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รับนักเรียนจากโรงเรียนมัยธมทั่วประเทศ ผ่านระบบทีแคส (TCAS) ในรอบที่ 2 รอบโควต้าพิเศษ รวม 2,000 กว่าคน ดังนั้น 2 คณะนี้ก็จะรวมกันเกือบ 6,500 – 6,800 คนศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย กล่าวว่า สำหรับคณะที่ 3 โครงการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับรองจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากนั้น รมว.สาธารณสุข ก็จะเห็นชอบส่งเรื่องเข้าไปในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ม.ค. ทั้งนี้ หลักสูตรจึงเน้นเรื่องความต้องการบุคลากรสาธารณสุข โดยเฉพาะในชุมชน ถิ่นทุรกันดาร หรือสถานีอนามัยทั่วประเทศ สำหรับหลักสูตรจะเป็นหลักสูตรใหม่ มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 (5) ที่ระบุว่า คนไทยต้องได้รับการดูแลรักษา โดยแพทย์เวชาศาสตร์ครอบครัว และแพทย์ในระบบปฐมภูมิ (Primary care) ทั่วประเทศ และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนของกระทรวงสาธารณสุข แผนของพ.ร.บ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562 เป็นต้น อีกด้วยศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย กล่าวว่า หลักสูตรโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ของสถาบันฯ ภายใต้โครงการ “ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” เป้าหมายของปีการศึกษา 2566 – 2570 จะรับนักศึกษารวม 96 คนต่อปี คุณสมบัติ ต้องเป็นนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2565 ยื่นคะแนนผ่านระบบทีแคส รอบ 2 (รอบโควต้า) ปลายเดือน ม.ค. – ก.พ. สำคัญคือ นักเรียนและผู้ปกครองจะต้องมีภูมิลำเนาเดียวกันในจังหวัดที่สมัครอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้ เพื่อผลิตแพทย์ให้กับศูนย์การแพทย์ของโรงพยาบาล (รพ.) 3 แห่ง คือ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ 32 ที่นั่ง เปิดรับนักเรียนที่โรงเรียนอยู่ภายในจังหวัดเขตสุขภาพที่ 3 รพ.ราชบุรี 32 ที่นั่ง รับนักเรียนในเขตสุขภาพที่ 5 และ รพ.นครศรีธรรมราช 32 ที่นั่ง รับนักเรียนในเขตสุขภาพที่ 11“โดยนักศึกษารุ่นแรกจะศึกษาจบในปี 2571 ซึ่งจะเป็นนักศึกษารุ่นแรกที่รับปริญญาบัตรที่สถาบันพระบรมราชชนก จากนั้นจะเป็นแพทย์ใช้ทุนตามเขตสุขภาพที่สมัครไว้ในตอนต้น ขอให้ความมั่นใจว่านักเรียนที่จะมาเรียนในคณะแพทย์ของสถาบันฯ ทั้ง 3 ศูนย์แพทย์ที่กล่าวมาได้ดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ระบบคะแนนคัดเข้าจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ อว. ผลผลิตที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาที่จบไป มีงานทำตามโควต้าที่ได้รับจัดสรร มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หลายคนเป็นผู้อำนวยการ รพ. ระดับอำเภอ ส่วนหนึ่งเป็นนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) หรือ รองนพ.สสจ. จึงให้ความมั่นใจในด้านคุณภาพ และบุคลากรที่เป็นไปตามอัตลักษณ์ของสถาบันฯ คือ วินัย หน้าที่ สามัคคี เสียสละ สัจจะ กตเวที” ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย กล่าว

“สบช.โมเดล” สร้างสุขภาวะที่ดีให้ประชาชน
ข่าวสำนักสารนิเทศ สป.สธ. : วันที่ 9 มกราคม 2566 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดโครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล 2022 : 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2565 – 2567) ในการประชุมวิชาการ เรื่อง “สถาบันพระบรมราชชนก : มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนกับ 21st Century Health Profession Education” พร้อมชื่นชม สถาบันพระบรมราชชนก ที่นำ “สบช.โมเดล” มาใช้สร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน ที่ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จ.ปทุมธานี * มกราคม 2566

สบช. เปิดตัวโครงการอบรม "พระบริบาลภิกษุไข้"
สถาบันพระบรมราชชนก จัดโครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด 1รูป ทั่วไทย เนื่องในโอกาสวาระสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก มีพระชมมายุครบ 8 รอบ 96 พรรษา (26 มิถุนายน 2566) นำโดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ พร้อมด้วย ศ.(พิเศษ)ดร.นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อให้พระสงฆ์เข้ารับการอบรมในหลักสูตรของโครงการฯ สามารถนำความรู้ การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การช่วยเหลือเบื้องต้น การส่งต่อ และสามารถนำประสบการณ์มาดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธภายในวัด และขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือและส่งเสริมให้พระสงฆ์เป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ตามหลักธรรมวินัย

สถาบันพระบรมราชชนก เตรียมเปิดอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” 6 ก.พ. นี้ ชูแนวคิด 1 วัด 1 รูป ดูแลภิกษุอาพาธ-ส่งเสริมป้องกันโรค โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชฯ ฉลองพระชนมายุ 8 รอบ
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประชาสัมพันธ์พิธีเปิดโครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด 1 รูป ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ พร้อมด้วย ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก เข้าร่วมร่วมรับเสด็จสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และรับประทานพระคติธรรม ศ.พิเศษ ดร.นพ.วิชัย กล่าวว่า โครงการอบรมพระบริบาลภิกษุไข้ ประจำวัด 1 วัด 1 รูปทั่วไทย เพื่อให้พระภิกษุที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรของโครงการดังกล่าวมีองค์ความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และมีทักษะในการบริบาลพระภิกษุไข้พร้อมทั้งการช่วยเหลือเบื้องต้น การส่งต่อ และสามารถนำประสบการณ์มาดูแลพระภิกษุที่อาพาธภายในวัดขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือส่งเสริมเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ตามหลักธรรมวินัยที่ได้บัญญัติไว้ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองพระชนมายุ 8 รอบ 96 พรรษา นำโดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

องค์การอนามัยโลกประกาศรางวัลSasakawa Health Prize ประจำปี 2566 สถาบันพระบรมราชชนก ขอแสดงความยินดีกับศ.(พิเศษ)ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้รับรางวัลในครั้งนี้
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลก สมัยที่ 152 ได้ประกาศรับรองให้บุคลากรสาธารณสุขไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้รับรางวัล Sasakawa Health Prize ประจำปี 2566 โดยจะมีพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณในระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 76 ในเดือนพฤษภาคม 2566 จากบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัย โดยริเริ่มการรณรงค์ “เลือกคู่ เลือกครรภ์ เลือกคลอด ปลอดธาลัสซีเมีย” เพื่อลดความชุกของโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงในประเทศไทย รวมถึงเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งคณบดีและผู้ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ริเริ่มโครงการ “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่ช่วยให้ประชาชนปรับปรุงพฤติกรรมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงเป็นการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงขั้นพื้นฐานที่สามารถลดอัตราการรับประทานยา ประหยัดค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาลของประชาชน และลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

สถาบันพระบรมราชชนก ขอแสดงความยินดี กับ รศ.ดร.อรัญญา เชาวลิต รองอธิการบดีฯ
รศ.ดร.อรัญญา เชาวลิต รองอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2566

อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ร่วมเป็นเกียรติในงานเปิด “อาคารภูมิจิต” คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า บริเวณตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
วันนี้ (20 มีนาคม 2566) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิด “อาคารภูมิจิต” คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า บริเวณตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต คณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงณิชาภา สวัสดิกานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และคณะเจ้าหน้าที่ร่วมพิธี นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายขยายบริการให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ ลดการเดินทาง ลดค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลารอคอย โดยโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่มีผู้มารับบริการประเภทผู้ป่วยนอกประมาณ 2,500– 3,000 รายต่อวัน แต่พื้นที่ให้บริการในโรงพยาบาลมีความคับแคบ และจำนวนห้องตรวจไม่เพียงพอกับปริมาณผู้มารับบริการ ส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลารอคอยในการตรวจรักษานาน ประกอบกับเป็นความตั้งใจของ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการเดินทาง จึงดำเนินการสร้างคลินิกผู้ป่วยนอก ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข “การเปิดคลินิกผู้ป่วยนอกแห่งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ที่จะพัฒนาศักยภาพในทุกๆ ด้านให้มีความก้าวหน้า โดยเฉพาะการพัฒนาระบบบริการนอกโรงพยาบาล ซึ่งหากบริหารจัดการระบบได้ดี จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้รับบริการ จะได้เข้าถึงบริการได้มากขึ้น” นายอนุทินกล่าว สำหรับอาคารภูมิจิต เป็นอาคาร 1 ชั้น ให้บริการตรวจรักษาโดยแพทย์เฉพาะสาขา บริการด้านทันตกรรมและบริการฉีดวัคซีนทางเลือก โดยบุคลากรจากโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า พร้อมเปิดให้บริการแก่เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขและประชาชนใกล้เคียง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
Hi, this is a comment.
To get started with moderating, editing, and deleting comments, please visit the Comments screen in the dashboard.
Commenter avatars come from Gravatar.